Samsung vs Apple

Samsung VS Apple  

  เมื่อเร็วๆ นี้ตัวเลขยอดขายมือถือ ในปี 2555 ได้ทยอยออกมาให้เห็นกันแล้วนะครับ  ภาพรวมของตลาดลดลง 1.75%  เมื่อเทียบกับปีก่อน และถือว่าลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2552


  ทั้งนี้ Samsung และ Apple ยังคงครองตลาดต่อไป โดยSamsung ขายมือถือได้ถึง 385 ล้านเครื่อง ขณะที่แอ๊ปเปิ้ลขายได้ 130 ล้านเครื่อง (ผลสำรวจของการ์ทเนอร์)


  ถ้าจะเจาะรายละเอียดลงมาสักหน่อย โดยนับเฉพาะสมาร์ทโฟน  สัดส่วนยอดขายของ 2 ค่ายนี้ แบ่งเป็นซัมซุง 28% และแอปเปิ้ล 82%  แบรนด์ Huwai ที่ขึ้นมาอยู่ในอันดับ3 เนื่องจากขายอยู่ในจีน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่อันดับ2 ของโลก (และจะเป็นตลาดใหญ่อันดับ1 ของโลกเร็วๆนี้)  ก็คงต้องวัดกันยาวๆ ต่อไปว่าHuwai จะทำได้ดีแค่ไหน



ผลการสำรวจยังพบพฤติกรรมใหม่ ในปีที่ผ่านมา มีผู้ใช้มือถือมีการเทขายมือถือราคาแพงออกมาและหันไปใช้มือถือในราคากลางๆ แทน อันเนื่องมาจากการแข่งขันที่สูงจึงทำให้ราคาถูกลง และสภาวะทางเศรษฐกิจหลายๆ ประเทศ ยังคงไม่ค่อยดีนัก  ด้วยเหตุผลนี้เองจึงมีข่าวลือหนาหูมาตลอดว่า แอปเปิ้ล เตรียมจะลงตลาดกลางหรือล่างเต็มตัว ( สตีฟ จ็อบส์ ไม่เคยเห็นด้วยกับหลักการนี้ ) และข่าวลือคงจะเป็นจริงในไม่ช้า เพราะเราได้เห็น มินิไอแพด วางตลาดมาแล้ว



โทรศัพท์มือถือและแท็ปเล็ต  ยังเบียดผลิตภัณฑ์กล้อง และโน็ตบุค ทำให้ยอดขาย ผลิตภัณฑ์ 2 อย่างนี้ยอดขายตกไปกว่าอย่างละ 30%

หลายปีก่อน มีกูรูในวงการเทคโนโลยีบางท่าน เคยบอกไว้ว่าไม่ช้าไม่นานนี้ เราคงจะมีโอกาสได้เห็น ซัมซุงจะก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์1 ของโลกในด้านโทรศัพท์มือถือ ทั้งที่แต่ก่อนซัมซุงยังไม่เคยติดท็อป 5 เลยด้วยซ้ำ และโนเกียร์ครองเบอร์ 1 มานานติดต่อกันถึง 14 ปี  หลายคนจึงบอกได้เลยว่าแทบจะเป็นไปไม่ได้  แต่แล้วซัมซุงได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วในปี ที่ผ่านมา  และมีแนวโน้มว่าจะทำได้ต่อไป

หลายคนจึงเริ่มมาโฟกัสกันที่สมาร์ทโฟน ถึงปัจจุบันยอดขายสมาร์ทโฟนทางซัมซุงจะยังคงตามแอปเปิ้ลอยู่มาก แต่มีหลายคนก็เริ่มชักไม่แน่ใจอนาคตเสียแล้ว ว่าแอปเปิ้ลยังจะคงครองเบอร์1 ได้อีกนานแค่ไหน 

คำถามในใจหลายๆ คนคงอยากจะถามว่าที่ผ่านมา  ซัมซุงทำได้อย่างไร ???

คำตอบของมัน แทบเป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อว่า 2 บริษัท ที่ประสบความสำเร็จเหมือนกัน แต่วิธีการเดินทางหรือเป้าหมายของบริษัท  มันช่างแตกต่างกันสุดขั้วเลยละครับ

สิ่งที่แอปเปิ้ลทำคือ "การสร้างตลาดเป็นของตัวเอง" พยายามสร้างนวัตกรรมตลาดขึ้นมาใหม่  และไม่สนใจว่าตลาดปัจจุบันหรืออนาคตอยากได้อะไร ไปในแบบ หรือทิศทางไหน

สิ่งที่ซัมซุงทำ ในทางตรงกันข้าม คือ ทุ่มเทอย่างหนักกับการศึกษาวิจัยตลาดที่อยู่แล้ว และนำเอาผลการศึกษาวิจัยที่ว่านี้มาใช้เป็นพื้นฐานสำหรับงานนวัตกรรมของตัวเอง


คิม ฮยอนซุก  รองประธานบริหารซัมซุง  ได้เคยให้สัมภาษณ์กับนิวยอร์ค ไทม์ส ไว้ ประมาณว่า  "ซัมซุงได้ไอเดียมากมายมาจาก ตลาด และยืนยันว่าไม่ว่าจะเป็นทิศทางในการพัฒนาโทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ หรืออื่นๆ ก็ตาม ตลาดเป็นผู้ผลักดันและขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์บริษัท บริษัทไม่ได้เป็นผู้ขับเคลื่อนตลาดให้ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง"



ในขณะที่ สตีฟ จ็อบส์ ของค่ายผลไม้แหว่ง ให้สัมภาษณ์อย่างอหังการว่า "การทำวิจัยตลาดไม่จำเป็น เพราะผู้บริโภคไม่รู้หรอกว่าตัวเองต้องการอะไร"



การวิจัยตลาดของซัมซุง ออกมาว่า หน้าจอของสมาร์ทโฟน ต้องใหญ่ขึ้น อย่างซัมซุงกาแลคซี่โน๊ต ที่มีขนาด 5.3นิ้ว แต่ฝั่งแอปเปิ้ล โดยจ๊อบ ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งและยังคงมองว่าขนาดของหน้าจอไอโฟน เหมาะสมที่สุด ( ซึ่งภายหลัง ไอโฟน5 ก็ขยับขยายหน้าจอขึ้นมา )



ซัมซุงมีศูนย์เพื่อการวิจัยอยู่ 34 ศูนย์ทั่วโลก มีพนักงานทำงานอยู่ภายในศูนย์วิจัยดังกล่าว กว่า 60,000 คน ตั้งแต่ประเทศญี่ปุ่น รัสเซีย อินเดีย จีน อิสราเอล และอเมริกา  มีดีไซเนอร์กว่า 1,000 คน หลากหลายทางด้านพื้นฐานอาชีพ เช่น จิตวิทยา สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ บริหาร และวิศวกรรม



ทีมออกแบบกาแล็คซี่ เอส3 สมาร์ทโฟนที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงชนิดไอโฟน 5 ต้องมองค้อน โดยได้แรงบันดาลสจจากทริปไปเยือนกัมพูชา ผสมผสานกับการขี่บัลลูนเหนือป่าแอฟริกา และงานแสดงผลงานแสดงผลงานจิตรกรเอกระดับโลก  การปลดล็อกด้วยการแตะหน้าจอแล้งส่งผลเหมือนน้ำกระเพื่อมของเอส 3 ว่า เป็นผลมาจากการยืนมองท้องฟ้าสลับผืนน้ำที่มารีน่า เบย์ แซนด์ส รีสอร์ต ในสิงคโปร์



ผลการวิจัยของซัมซุงยังพบว่า "เขียนหรือวาด ดีกว่ากดพิมพ์" โดยเฉพาะภาษาจีน ญี่ปุ่น เราจึงได้เห็น ซัมซุง กาแล็คซี่ โน๊ต ที่มาพร้อมปากกา



คงต้องดูกันต่อไปครับ โดยเฉพาะปีนี้ ซัมซุงเองอาจจะมีการรีแบรนด์ โดยรีแบรนด์ใหม่นี้จะเป็นพรีเมี่ยมแบรนด์ และปล่อยให้ Galaxy เก็บตลาดกลางจนถึงล่าง ค่ายแอปเปิ้ลเองก็จะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมา และยังคงมี กูเกิล และ ไมโครซอฟ เข้ามาเล่นในตลาดนี้ด้วยสิ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รู้จักกลยุทธ์ ZARA แบรนด์เสื้อผ้าระดับโลก

หมู่บ้านศิลปิน หัวหิน

รู้จักเวียดนาม ( ตอนที่ 1 : ประวัติศาสตร์เวียดนาม )