รู้จักเวียดนาม ( ตอนที่ 2 : ประเทศที่น่าจับตา )
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
( Socialist Republic of Vietnam )
บทความที่แล้ว ผมได้เกริ่นถึงประวัติศาสตร์ของเวียดนามโดยย่อไปแล้วในบทความ รู้จักเวียดนาม ตอนที่ 1 : ประวัติศาสตร์เวียดนาม วันนี้คงจะขอพูดถึงข้อมูลในด้านอื่นๆกันบ้างนะครับ
ฮานอย เมืองหลวง ประเทศเวียดนาม
1. ทำเลที่ตั้งประเทศอยู่ในทำเลที่ดี
บางท่านอาจจะบอกว่าในอาเซียนเรา ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีทำเลที่ดี อยู่ใจกลางอาเซียนสะดวกต่อการเดินทาง ผมก็กลับมองว่าประเทศเวียดนามก็มีทำเลที่ตั้งประเทศที่ดี ไม่แพ้ไทยเลยครับ
เพราะเวียดนามตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของคาบสมุทรอินโดจีน เรียงเป็นรูปตัว S ทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดประเทศลาว และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดประเทศกัมพูชา ทิศตะวันออกติดชายฝั่งทะเลยาวถึง 3,444 กม. ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เวียดนามมีท่าเรือน้ำลึกเป็นจำนวนมาก มีการขนส่งทางเรือที่ดี ซึ่งการขนส่งทางเรือเป็นการขนส่งที่ต้นทุนถูกมากกว่าทางด้านอื่นๆ จึงทำให้เวียดนามได้เปรียบในเรื่องต้นทุนการขนส่ง และการมีทำเลที่ตั้งที่ดีนั้น ทำให้เวียดนามสามารถค้าขายกับตลาดขนาดใหญ่ระดับโลก คือจีน เอเชียตะวันออก และชาติตะวันตก ได้อย่างสะดวก การคมนาคมทางอากาศ ก็เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จากจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี ถึงแม้ว่าการคมนาคม ทางถนน และรถไฟ ต้องใช้เวลาในการสร้างใหม่และพัฒนาอีกสักระยะก็ตาม แต่หากได้มีการพัฒนาคมนาคมดังกล่าวแล้ว เวียดนามก็จะสามารถเดินทางติดต่อกับประเทศไทย พม่า ยาวไปถึงอินเดียได้อย่างสะดวกเช่นกัน
ท่าเรือ Bason ไซ่ง่อน
ท่าเรือ Nha trang คั้ญฮหว่า
2. ศักยภาพของประชากร
ประชากรเวียดนามมีประมาณ 88 ล้านคน มากเป็นอันดับ 3 ในอาเซียนรองจาก อินโดนิเซียและฟิลิปปินส์ และเป็นอันดับ 13 ของโลก มีอัตราการเติบโตของประชากรเฉลี่ย 1.2% ต่อปี ประชากรอายุ 15 - 64 ปี ซึ่งเป็นวัยในการทำงาน ที่มีความสำคัญในการพัฒนาประเทศ มีสูงถึง 69% อายุเฉลี่ยที่มีจำนวนมากคืออายุ 29 ปี ( ไทย 36 ปี, จีน 37 ปี, ญี่ปุ่น 46 ปี )
ศักยภาพทางด้าน IQ ของคนเวียดนาม จากการวัดคะแนนคนเวียดนาม มีคะแนนสูงถึง 94 คะแนน เป็นอันดับ 2 ในอาเซียน เป็นรองเพียงแค่สิงค์โปร์ อันดับ 1 ที่ได้ 108 คะแนน ( ประเทศไทยอันดับ 4 ในอาเซียน ได้ 89 คะแนน )
อัตราความยากจน ( วัดจากรายได้เฉลี่ยที่น้อยกว่าวันละ 1.25 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือ 41 บาท ต่อวัน ) อยู่ที่ร้อยละ 2.44 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ( ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา อัตราความยากจนเวียดนามลดลงถึง 95% )
ภาพประชากรเวียดนาม ในฮานอย
ทั้งหมดนี้บ่งบอกถึงศักยภาพของประชากรที่สูง บวกกับลักษณะของคนเวียดนามที่มีลักษณะขยัน อดทน และมีหัวการค้าแบบจีนมาผสม ทำให้ศักยภาพของประชากรเวียดนาม โดดเด่นเป็นอย่างมากในอาเซียน
3. เปิดเสรีและสนับสนุนการค้า
ถึงแม้เวียดนามจะมีระบอบการปกครองระบบสังคมนิยม มีพรรคการเมืองเดียวคือพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเวียดนาม แต่เวียดนามก็มีการจัดทำแผนปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมที่ชัดเจน ( ตามนโยบาย โด่ย เหมย ) โดยเป้าหมายคือการก้าวไปสู่ความเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ภายในปี 2563 ปรับระบบเศรษฐกิจให้เป็นแบบเสรี ส่งเสริมการค้าและการลงทุน มีการปรับปรุงกฏหมายให้เอื้อต่อการค้าระหว่างประเทศ
เวียดนามเข้าร่วมเขตการค้าอาเซียน ( AFTA ) เมื่อปี 2539 โดยปรับอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ 0-5% ตามเงื่อนไข และเปิดเสรีธุรกิจบริการในปี 2558 ทั้งยังเข้าร่วม สมาชิกองค์การการค้าโลก ( WTO ) เมื่อปี 2550 และเข้าร่วมเป็นสมาชิกความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ( APEC ) และความร่วมมือภายใต้กรอบการประชุมเอเชีย-ยุโรป ( ASEM ) ตามลำดับ
การส่งออกของเวียดนาม คิดเป็น 80% ของ GDP สินค้าส่งออกที่สำคัญคือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า น้ำมันดิบ อาหารทะเล คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ไม้ เครื่องจักรและชิ้นส่วนอุปกรณ์ อัญมณี ยางพารา และข้าว ฯลฯ แต่ในอนาคต การบริโภคภายในจะเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะจากการคาดการณ์การเจริญเติบโตของคนชั้นกลางจากปัจจุบัน 12 ล้านคน จะกลายเป็น 33 ล้านคนในปี 2020
ทั้งนี้ที่ได้กล่าวมา อาจจะมีแต่เพียงข้อดีอย่างเดียว จริงๆ แล้วเวียดนามก็ยังมีจุดที่ต้องพัฒนาอีกพอสมควร เช่น การขาดแคลนแรงงาน และทักษะ ระดับกลาง เช่น หัวหน้าแผนก ผู้จัดการลำดับต้น , โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนน ยังต้องลงทุนอีกมาก , ความโปร่งใสในการบริหารทั้งบริษัท หรือรัฐวิสาหกิจ ที่มีผู้บริหารเป็นระบอบสังคมนิยมเข้าแทรกแซง ( เวียดนามกำลังแก้ปัญหาโดยการอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นในบริษัทฯ ได้เพิ่มเป็น 60% จากเดิม 49% เพื่อทำให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ผลักดันให้เข้าสู่มาตรฐานการทำงานตามกฏเกณฑ์ตลาดหลักทรัพย์เวียดนาม ) , การติดต่อราชการที่มีความยุ่งยาก และกฏระเบียบในแต่ละท้องที่ ที่แตกต่างกัน ตามการปกครองที่มีคณะกรรมการประชาชน ของแต่ละท้องถิ่น , การแทรกแซงค่าเงินดองของรัฐบาล เช่น การลดค่าเงินดอง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นต้น
ท้ายนี้คงต้องติดตามกันต่อไปว่าเวียดนาม จะยังคงสามารถรักษาสเถียรภาพในการเติบโตได้ตามเป้าหมายที่วางแผนได้หรือไม่ โดยผมได้ติดตามอย่างใกล้ชิดเนื่องจากได้เข้าลงทุนในเวียดนามได้สักระยะแล้ว และมีแผนในการ Visit บริษัท, เศรษฐกิจ ของเวียดนาม ในหลายจังหวัด ประมาณช่วงฤดูหนาวที่จะถึงนี้ หากมีข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจอย่างไร คงจะได้เล่าสู่กันฟังเพิ่มเติมกันอีกครั้งครับ ^^
By Bandid nimwichaigul (ryanbandid@gmail.com )
ถึงแม้เวียดนามจะมีระบอบการปกครองระบบสังคมนิยม มีพรรคการเมืองเดียวคือพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเวียดนาม แต่เวียดนามก็มีการจัดทำแผนปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมที่ชัดเจน ( ตามนโยบาย โด่ย เหมย ) โดยเป้าหมายคือการก้าวไปสู่ความเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ภายในปี 2563 ปรับระบบเศรษฐกิจให้เป็นแบบเสรี ส่งเสริมการค้าและการลงทุน มีการปรับปรุงกฏหมายให้เอื้อต่อการค้าระหว่างประเทศ
เวียดนามเข้าร่วมเขตการค้าอาเซียน ( AFTA ) เมื่อปี 2539 โดยปรับอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ 0-5% ตามเงื่อนไข และเปิดเสรีธุรกิจบริการในปี 2558 ทั้งยังเข้าร่วม สมาชิกองค์การการค้าโลก ( WTO ) เมื่อปี 2550 และเข้าร่วมเป็นสมาชิกความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ( APEC ) และความร่วมมือภายใต้กรอบการประชุมเอเชีย-ยุโรป ( ASEM ) ตามลำดับ
การส่งออกของเวียดนาม คิดเป็น 80% ของ GDP สินค้าส่งออกที่สำคัญคือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า น้ำมันดิบ อาหารทะเล คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ไม้ เครื่องจักรและชิ้นส่วนอุปกรณ์ อัญมณี ยางพารา และข้าว ฯลฯ แต่ในอนาคต การบริโภคภายในจะเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะจากการคาดการณ์การเจริญเติบโตของคนชั้นกลางจากปัจจุบัน 12 ล้านคน จะกลายเป็น 33 ล้านคนในปี 2020
ดานัง อดีตเมืองหลวงของเวียดนาม
ปัจจุบันเป็นเมืองท่าที่สำคัญ
ทั้งนี้ที่ได้กล่าวมา อาจจะมีแต่เพียงข้อดีอย่างเดียว จริงๆ แล้วเวียดนามก็ยังมีจุดที่ต้องพัฒนาอีกพอสมควร เช่น การขาดแคลนแรงงาน และทักษะ ระดับกลาง เช่น หัวหน้าแผนก ผู้จัดการลำดับต้น , โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนน ยังต้องลงทุนอีกมาก , ความโปร่งใสในการบริหารทั้งบริษัท หรือรัฐวิสาหกิจ ที่มีผู้บริหารเป็นระบอบสังคมนิยมเข้าแทรกแซง ( เวียดนามกำลังแก้ปัญหาโดยการอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นในบริษัทฯ ได้เพิ่มเป็น 60% จากเดิม 49% เพื่อทำให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ผลักดันให้เข้าสู่มาตรฐานการทำงานตามกฏเกณฑ์ตลาดหลักทรัพย์เวียดนาม ) , การติดต่อราชการที่มีความยุ่งยาก และกฏระเบียบในแต่ละท้องที่ ที่แตกต่างกัน ตามการปกครองที่มีคณะกรรมการประชาชน ของแต่ละท้องถิ่น , การแทรกแซงค่าเงินดองของรัฐบาล เช่น การลดค่าเงินดอง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นต้น
ท้ายนี้คงต้องติดตามกันต่อไปว่าเวียดนาม จะยังคงสามารถรักษาสเถียรภาพในการเติบโตได้ตามเป้าหมายที่วางแผนได้หรือไม่ โดยผมได้ติดตามอย่างใกล้ชิดเนื่องจากได้เข้าลงทุนในเวียดนามได้สักระยะแล้ว และมีแผนในการ Visit บริษัท, เศรษฐกิจ ของเวียดนาม ในหลายจังหวัด ประมาณช่วงฤดูหนาวที่จะถึงนี้ หากมีข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจอย่างไร คงจะได้เล่าสู่กันฟังเพิ่มเติมกันอีกครั้งครับ ^^
By Bandid nimwichaigul (ryanbandid@gmail.com )
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น