I Mobile Big Changes


นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้งสำหรับ บมจ.สามารถไอโมบาย จากธุรกิจเดิมที่นับวัน จะมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง โดยเฉพาะตลาดมือถือ ที่มีทั้งอินเตอร์แบรนด์หลายแบรนด์ ดาหน้าเข้ามาขายในประเทศไทยกันเป็นจำนวนมาก ทำให้ไอโมบายในวันนี้ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ โดยไม่ได้เน้นไปที่มือถือเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป


คุณจักรกฤช จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.สามารถไอโมบาย

จากการเตรียมความพร้อมโดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างบริหารเมื่อต้นปี จากเดิมในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารจากคุณวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ มาเป็น คุณจักรกฤช จารุจินดา ( อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บจก. ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก ) ผู้เคยบริหาร ร้านสะดวกซื้อ ที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี คือ Jiffy  เข้ามากุมบังเหียน บริหาร ปรับเปลี่ยน โครงสร้างธุรกิจ

 

จากเดิมที่มี 3 กลุ่มธุรกิจคือ ธุรกิจโมบาย, มัลติมีเดีย, และบริการเครือข่าย
มาเป็น 2 กลุ่มธุรกิจ คือ โมบาย และนอน-โมบาย

1.กลุ่มธุรกิจโมบาย อย่างโทรศัพท์มือถือไอโมบาย จากเดิมที่จับกลุ่มตลาดแมส และออกรุ่นเป็นจำนวนมาก (เฉลี่ยมากกว่า 40 รุ่นต่อปี) จะไม่ได้จับกลุ่มแมสอีกต่อไป โดยจุดยืนใหม่คือลูกค้าระดับกลาง และเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มมากขึ้น อย่างเช่น กลุ่มคนฟังเพลง กลุ่มคนดูหนัง และจะออกรุ่นใหม่เพียง 10 รุ่นต่อปี เท่านั้น


ส่วน MVNO (3GX เดิม) จะถูกโยกมาอยู่กับธุรกิจโมบาย ใช้แบรนด์ใหม่ว่า OPEN โดยเช่าโครงข่าย CAT Telecom และจะแถลงข่าวเปิดตัวอีกครั้งตามมาในเร็วๆ นี้







2. กลุ่มธุรกิจ นอนโมบาย มีร้านค้าปลีก ชื่อ Open Life  เป็นร้านที่รวมสินค้าไลฟ์สไตล์ ที่หลากหลาย เช่น


O'Fix บริการซ่อมโทรศัพท์มือถือ รับซ่อมมือถือทุกแบรนด์ มีมาตรฐานเดียวกันทุกสาขา รับประกันอะไหล่ 90 วัน ผ่อนค่าซ่อมได้ 0% นาน 6 เดือน

O'Pay บริการรับชำระสินค้าและบริการต่างๆ ที่เดียวจ่ายได้หมด

O'Top+up ตู้เติมเงินและชำระบิลออนไลน์ บัตรเครดิต สินเชื่อ ประกันภัย

O'Cafe ร้านกาแฟ เอาใจคนรักสุขภาพและรักกาแฟ (แอบสงสัยว่าเมล็ดกาแฟเดียวกับร้านอเมซอน ปตท.หรือเปล่านะ)

O'Money บริการโอนเงินต่างประเทศ ผ่านบัตรเติมเงินมือถือ


              ร้าน Open Life สาขาแรก สำนักงานใหญ่ อาคารซอฟท์แวร์ปาร์ค แจ้งวัฒนะ




บริการต่างๆภายในร้าน







โดยปีนี้ตั้งเป้า เปลี่ยนร้านชอปไอโมบาย ทั้งหมดเป็น Open Life ทั้ง 30 สาขา และขยายสาขาโดยเฟรนไชส์ อีก 30 สาขา

และมี ธุรกิจ Digital Commerce ครบวงจร ประกอบไปด้วย


WappWapp (แว้บแว้บ)   บริการอีคอมเมิร์ซ จัดส่งอาหารถึงบ้าน

Thailand Mall     เว็บไซต์ขายสินค้าไทยสู่ตลาดโลก 

Thaland Checkin     บริการช่วยแนะนำข้อมูลและให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยว

บริการการตลาดดิจิทัล ผ่านการซื้อบริษัท Phoinikas

บริการดิจิทัลคอนเทนต์เดิม (BUG, EDT, i-Sport)







ในปี 2559 นี้ บมจ.สามารถไอโมบาย ตั้งเป้ารายได้รวม 8,000 ล้านบาท ( ปี 2558 จำนวน 7,000 ล้านบาท ) เติบโต 10%  แบ่งเป็นธุรกิจโมบาย 6,500 ล้านบาท และธุรกิจนอนโมบาย1,500 ล้านบาท หรือในสัดส่วน 80:20 และภายใน 3 ปี ตั้งเป้าสัดส่วนรายได้ที่ 50:50 และมีรายได้มากกว่า 15,000 ล้านบาท

ขอบคุณข้อมูลจาก บมจ.สามารถไอโมบาย

Bandid Nimwichaigul
ryanbandid@gmail.com



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รู้จักกลยุทธ์ ZARA แบรนด์เสื้อผ้าระดับโลก

รู้จักเวียดนาม ( ตอนที่ 2 : ประเทศที่น่าจับตา )

หมู่บ้านศิลปิน หัวหิน